Order Lepidoptera (หนอนบุ้ง ,หนอนร่าน)
หนอนบุ้งเป็นตัวอ่อนของผีเสื้อซึ่งอยู่ใน Order Lepidoptera โดยบุ้งหลายชนิดจะมีขน
อยู่บริเวณลำตัว ขนที่ทำให้เกิดอาการแพ้เรียกว่า urticating hairs
หนอนบุ้งมีอยู่หลายชนิด แต่ชนิดที่พบบ่อยในประเทศไทย เช่น หนอนผีเสื้อกลางคืน
(Gypsy moth) เมื่อสัมผัสถูกขนพิษของหนอนบุ้ง จะทำให้เกิดอาการแสบร้อนและคัน
ทันที เนื่องจากในขนพิษ มีสารพิษที่ทำให้เกิดผื่นแพ้ขึ้นที่ผิวหนัง จากนั้นจะบวม ชา เป็นผื่นลมพิษพิษจะกระจายไปบริเวณข้างเคียง ทำให้เกิดการอักเสบ
บวม เช่น ที่ต่อมน้ำเหลือง อาจมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ชา เป็นอัมพาต และช็อคได้ อาการจะเป็นมากในผู้ที่มีประวัติแพ้ ในกรณีขนพิษเข้าไปในลูกตาอาจทำให้ตาบอดได้
วิธีเอาขนบุ้งออกจากส่วนที่โดนขนบุ้ง ให้เอาข้าวเหนียวตำให้เหนียวแล้วเอามากลิ้งในส่วนที่โดนขนบุ้งแล้วขนบุ้งจะติดออกมา
หรือหามีเทปกาวก็เอาเทปกาวนาบตรงส่วนที่โดนขนบุ้งแล้วขนบุ้งก็จะติดออกมาอีกอย่างเป็นวิธีโบราณที่ผมเองสมัยอยู่บ้านนอกก็เคยใช้วิธีนี้แต่ไม่ขอยืนยันนะครับว่าได้ผลหรือไม่ มันนานมากจนเกินที่จะจำ ก็คือเอาผมของตัวเองถูตรงที่โดนขนบุ้ง
เหมือนเป็นการแก้เคล็ดขณะที่ถูอยู่นั้นให้พูดว่า ขนมึงแพ้ขนกู ว่าซ้ำอยู่อย่างนั้น
ตัวคุ่น แมลงตัวน้อยคอยกวนใจ ตอนนี้จะพูดถึงตัว คุ่น เวลาโดนกัด ก็มีตุ่มแดงๆ แล้วก็มีตุ่มเลือด ตัวคุ่นมีลักษณะคล้ายๆ ตัวแมงหวี่ บินได้เหมือนยุงแต่ตัวใหญ่กว่า คงยากที่จะจินตนาการใช่หมั๊ยครับ ดังนั้นผมจึงเก็บตังค์ไปซื้อกล้อง ใหม่ที่ถ่ายมาโครได้ใกล้ๆ แล้วถ่ายตัวคุ่นมาฝากให้ได้รู้จักกันครับ ดูภาพเลย โฉมหน้าของตัวคุ่นครับ ขนาดตัวคุ่นให้เปรียบเทียบกับขนาดขุมขนของเรานะครับตัวมันเล็กครับ พอๆ กับยุงแต่ตัวอวบอ้วนกว่าไม่แหลมเรียวเหมือนยุง คุ่นมีอยู่ในหลายพื้นที่ ที่ขึ้นชื่อมากๆ คือ ช่องเย็น ที่นี่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยตัวคุ่นโดยเฉพาะช่วงฤดูหนาวตัวคุ่นจะพร้อมเพรียงกันทำมาหกิน สร้างความรำคาญแก่เรามาก คุ่นมักจะบนเขาสูง ประมาณ 700 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป ที่ดอยอินทนนท์เราจะพบได้ตั้งแต่หมู่บ้านแม่แอบขึ้นไปจนถึงบนยอดดอยอินทนนท์ ไม่ต้องกลัวนะครับเพราะว่ามันไม่ได้นำพิษร้ายเหมือนยุง มากัดให้รำคาญเฉยๆ ลักษณะการเข้าโจมตีของคุ่น จู่ๆ มันก็บินมาเกาะ แล้วก็กัด พอมันจากไปสักเดี๋ยวก็จะเกิดเป็นตุ่มเลือดสีแดงๆ ขึ้นมา มีเลือดซ้ำอยู่ข้างใน วิธีแก้เหตุการณ์เฉพาะหน้า คือพยายาม บีบเอาเลือดที่เห็นป็นสีแดงคล้ำเป็นจุดนั่นออกมา ไม่ให้เหลือเลยยิ่งดี แล้าล้างแผลให้สะอาด ทาด้วยเบต้าดีน เพื่อป้องกันการอักเสษของแผล เพราะหากท่านแพ้มันจะคันอยู่อย่างนั้น และเมื่อคันแล้วเกามากๆอาจจะทำให้เป็นจุดแผลเป็นได้ แต่ถ้าคนไม่แพ้จุดเดิมที่ถูกกัดเมื่อเวลาผ่านไปแผลเริ่มกลับสู่สภาพเดิม แล้วก็หายเป็นปกติเหมือนไม่เคยโดนอะไรกัด เคยเห็นชาวบ้านกะเหรี่ยงคนหนึ่งบริเวณข้อเท้าจะอุดมไปด้วย รอยคุ่นกัด เป็นจุดจนนับไม่ถ้วนเมื่อถามก็รู้ว่าแกคงโดนบ่อยจนชิน เลยไม่ได้ป้องกันปล่อยให้มันกัดแล้วก็ไม่เกา ก็เลยมีแต่จุดจ้ำเลือดเต็มข้อเท้า วิธีการป้องกัน ตบเหมือนตบยุงอย่าให้มันกัด คนบินช้าเพื่อหาจุดกัดมันจะจ้องหาจุดก่อนโจมตี ให้ทาบริเวณส่วนของผิวหนังที่ไม่มีอะไรห่อหุ้มด้วยน้ำมันตะไคร้หอม หรือใช้ไบสาระแหน่ขยี้ถูบริเวณที่ไม่มีอะไรหุ้มวิธีนี้ได้ผล ตัวคุ่นก็ได้แต่บินลาดตะเวนผ่านไปผ่านมาเฉยๆ อีกวิธีหนึ่งคือ ใส่เสื้อผ้ามิดชิดไม่เปิดเผยเป้าให้คุ่นโจมตีได้ง่าย เช่น ใส่เสื้อแขนยาวไม่ใส่เสื้อแขนกุด ใส่กางเกงขายาวไม่ใส่กางเกงขาสั้น ส่วนใบหน้าไม่ต้องเป็นห่วงเพราะมันอยู่ใกล้ตาคอยระวังภัยอยู่แล้ว คุ่นบินมาเราก็จะสังเกตุเห็นก่อนที่มันจะเกาะและกัด
คุ่น หรือที่รู้จักกันในภาษากลางว่า (ริ้นดำ)สำหรับคนที่อาศัยในเมืองแล้วอาจจะไม่คุ้นเคย หรือรู้จักมากนัก แต่ถ้าเป็นนักท่องเที่ยวที่นิยมธรรมชาติแล้วมักจะรู้จักกับเจ้าแมลงที่เป็นศัตรูตัวฉกาจที่มาก่อกวน และสร้างความรำคาญให้เสมอๆเป็นอย่างดี
แมลงชนิดนี้มีรูปร่างคล้ายแมลงวันแต่จะมีขนาดเล็กกว่าออกหากินกลางวัน โดยจะดูดเลือดของคน และสัตว์เป็นอาหาร
ซึ่งเฉพาะตัวเมียเท่านั้นที่จะกินเลือดเป็นอาหารคล้ายยุง ในประเทศไทยสามารถพบคุ่นได้ในทุกภาคโดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือ
และภาคใต้ ที่มีลำธารที่มีน้ำไหล เนื่องจากลักษณะถิ่นอาศัยเหล่านี้จำเพาะสำหรับตัวอ่อนของแมลงชนิดนี้ แผลที่คุ่นกัดมักจะมีเลือดไหลซึมออกมา เนื่องจากฟันของคุ่นมีลักษณะคล้ายฟันเลื่อย จากนั้นจะเกิดอาการบวมแดง
อักเสบ และคันตามมา
สำหรับคนที่แพ้มากอาจจะมีไข้ ปวดหัว คลื่นไส้ และมีอาการหอบหืด เรียกว่า (ไข้ริ้นดำ) หรือ Black fly Fever สำหรับ นักท่องเที่ยวที่ชอบท่องเที่ยวตามสถานที่ธรรมชาตินั้น การจะป้องกันตัวเองจากแมลงเหล่านี้ให้ดีที่สุด เห็นจะต้องพยายามแต่งตัวให้มิดชิดเพื่อไม่ให้คุ่นสามารถสัมผัสผิวได้ ทั้งนี้แม้แต่น้ำมันตะไคร้หอมที่มักจะได้รับความนิยมว่าสามารถป้องกันแมลง หลายชนิดได้ ก็ไม่มีผลต่อเจ้าตัวร้ายขนาดเล็กนี้มากนัก
ที่มาของข้อมูล รศ.ดร.เฉลียว กุวังคะดิลก ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล